ห้องเรียนวิชา วิทยาการคำนวณ ม.5

หน่วยที่ 1 เรื่อง วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศกับการแก้ปัญหา

เทคโนโลยีกับการพัฒนา

 ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัดเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการศึกษามิใช่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือในโรงเรียน แต่การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มนุษย์หรือคนทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ทุกเรื่องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 66 กล่าวว่า"ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต"เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การที่นักเรียนเรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียน สื่อ ซีดีรอม เพื่อตามให้ทันเพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ "เรียนรู้ด้วยตัวเอง" (Independent learning) ได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหา ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศยังก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆเช่นวิธีการ Constructionism ของศาสตราจารย์ Seymour Papert ที่ใช้หลักการที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กๆ มีความใส่ใจ กับการสร้างสิ่งที่มีความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศลดความเลื่อมล้ำ ของโอกาสของการศึกษา ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในการตอบสนองนโยบายการศึกษานี้เป็น การศึกษา เพื่อประชาชนทุกคน อันจะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเท่าเทียมด้านการศึกษา เช่น ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ที่มีต่อโรงเรียนห่างไกลในชนบทมีด้วยโอกาสให้มีโอกาส เท่าเทียมกับท้องถิ่นที่เจริญกว่าทำให้ผลของการที่นำเรียน ในชนบทมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลของโลก หรืออีกนัยหนึ่ง ห้องสมุดโลก"ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือการมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ให้เกิดการเรียนรู้โดยเฉพาะกับคนพิการ สามารถมีโอกาสรับรู้ การศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาส ให้คนพิการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ และเพื่อประกอบอาชีพอีกด้วย

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน โดยการจัดการศึกษาทางไกล เพื่อให้บริการการศึกษาทั่งถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และผู้อยู่ห่างไกล รวมถึงการใช้สื่ออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีการพัฒนาการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง

   รูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาเช่น การเรียนแบบ e-Learnning คือการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กชทราเน็ตทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม และใช้ การนำเสนอเนื้อหาสาระในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนบนเว็บ(Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์(Online Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมการเรียนจากวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย

อ้างจาก(http://school.obec.go.th/e-learnning/) สงขลา e-Learnning ใบงานที่ 1.1 เทคโนโลยีกับการพัฒนา

ข้อสอบเก็บคะแนนท้ายหน่วยที่ 1   ใบงานที่ 1.3 การออกแบบผลิตภัณฑ์


หน่วยที่ 2 การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ

1. การนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Value Proposition Canvas)

      คิดค้นโดย Alexander Osterwalder (อเล็กซานเดอร์ ออสเทอร์วัลเดอร์) เจ้าของ Business Model Canvas

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

มีกระบวนการที่สำคัญดังนี้

งานชิ้นที่ 1 ให้นักเรียนสรุปความรู้ "การประมวลผลข้อมูลสารสนเทศแบ่งตามอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้" ในรูปแบบอินโฟกราฟิก (มี 3 ประเภท ให้แยกด้วยว่าแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง) >>>ส่งงาน<<<