ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ ม.3
หน่วยที่ 1 การพัฒนาแอปพลิเคชัน
1.1 ความหมายและลักษะสำคัญของแอปพลิเคชัน
การจำแนกแอปพลิเคชันตามลักษณะการใช้งาน
1.แอปพลิเคชันบนระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Desktop Application)
เป็นแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรืออาจจะเรียกว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ได้ เช่น โปรแกรมแปลงสกุลเงิน โปรแกรมผันเสียงวรรณยุกต์ โปรแกรมจัดการเอกสาร โปรแกรมนำเสนอ
2.แอปพลิเคชันสำหรับระบบสมองกลฝังตัว (Microcontroller Application)
เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาเพื่อทำงานเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งบนอุปกรณ์สมองกลฝังตัว เช่น ระบบรดนํ้าต้นไม้อัตโนมัติ ระบบตรวจจับแก๊สรั่วภายในบ้านระบบเตือนภัยต่าง ๆ
3. แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต (Mobile Application)
เป็นแอปพลิเคชันที่ทำงานบนสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตเพื่ออำนวยความสะดวกหรือใช้งานในด้านต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
4. เว็บแอปพลิเคชัน (Web Application)
เป็นแอปพลิเคชันที่ทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องแจกจ่ายหรือติดตั้งซอฟต์แวร์
5. แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ
เช่น สมาร์ตวอต์ช เป็นแอปพลิเคชันที่มีรูปแบบการทำงานเฉพาะบนอุปกรณ์ขนาดเล็กหรืออุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างง่าย
ขั้นตอนที่ 1
การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
เป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาเป็นอย่างไร และหาวิธีการหรือระบบที่จะนำมาช่วยในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 2
การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
พูดคุยหาข้อสรุปเกี่ยวกับความต้องการของเจ้าของโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันให้มีความสามารถตามที่เจ้าของโครงการต้องการ
ขั้นตอนที่ 3
การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
นำโปรแกรมที่ได้ออกแบบไว้แล้วมาเขียนเป็นรหัสต้นฉบับ พัฒนาโปรแกรมให้มีคุณสมบัติ
ตามที่ได้กำหนดไว้ สามารถทำงานได้ตามรูปแบบและบริบทที่ผู้ใช้ต้องการ
ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing & Verification)
เมื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเสร็จแล้วควรนำไปทดสอบการทำงานของระบบ เพื่อหาข้อผิดพลาดหรือการทำงานที่อาจจะไม่ถูกต้อง และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้สมบูรณ์
ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation)
จัดทำเอกสารประกอบการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อบอกคุณสมบัติ องค์ประกอบ และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการใช้งานโปรแกรม พร้อมจัดทำคู่มือการใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้งานใหม่ทำความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด
ขั้นตอนที่ 6 การใช้งานจริง (Program Implement)
การนำระบบไปใช้งานจริง พร้อมทั้งติดตามตรวจสอบผลการใช้งานและข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance)
ปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ
หน่วยที่ 2 เรื่อง การรวบรวมประมวลผลและนำเสนอข้อมูล
การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ
2. การรวบรวมข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การประเมินความน่าเชื่อถือ ของแหล่งข้อมูลอ้างอิงและผลกระทบ
งานชิ้นที่ 1 ให้นักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง "วิธีการในการประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล " ในรูปแบบอินโฟกราฟิก >>>ส่งงาน<<<
งานชิ้นที่ 2 ให้นักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง "องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อ" ในรูปแบบอินโฟกราฟิก >>>ส่งงาน<<<
งานชิ้นที่ 3 ให้นักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง "การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์"ในรูปแบบอินโฟกราฟิก >>>ส่งงาน<<<
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
งานชิ้นที่ 1 ให้นักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญา" ในรูปแบบอินโฟกราฟิก >>>ส่งงาน<<<
งานชิ้นที่ 2 ให้นักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง "ครีเอทีฟคอมมอนส์" >>>ส่งงาน<<<