ห้องเรียน วิชา วิทยาการคำนวณ ม.2

หน่วยที่ 1 แนวคิดเชิงคำนวณ

ความคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)

เป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยการคัดเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อปัญหาไว้ และคัดเลือกสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อปัญหาออกไป จะทำให้กรอบของปัญหาแคบลงและมีความชัดเจนขึ้น ในการปฏิบัติการคิดเชิงนามธรรม สามารถสรุปเป็นสาระสำคัญด้วยข้อความหรือแผนภาพได้ 

การออกแบบขั้นตอนวิธี (Algorithm Design)

     เป็นการถ่ายทอดความคิดที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือการทำงาน เพื่อทำให้สามารถนำแนวคิดที่ออกแบบไปปฏิบัติตามและสามารถศึกษาในภายหลังได้

1. การออกแบบขั้นตอนวิธีแบบบรรยาย (Narrative Description)

                 เป็นการอธิบายขั้นตอนด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย เป็นลำดับ

2. การออกแบบขั้นตอนวิธีด้วยรหัสลำลอง (Pseudo Code) 

            เป็นการอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมโดยใช้ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง

3. การออกแบบขั้นตอนวิธีด้วยผังงาน (Flowchart

           เป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีโดยการใช้สัญลักษณ์ที่มีความหมายแตกต่างกัน

เป็นลำดับขั้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา โดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา 

(The American National Standard Institute : ANSI)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานเพื่อให้สื่อสารได้ตรงกัน ดังตาราง

หน่วยที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา

วงจรการพัฒนาโปรแกรม ( Software Development Life Cycle : SDLC )

           การพัฒนาโปรแกรมเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ ซึ่งมีรูปแบบ

ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับบริบทของทีมและภาระงาน

ภาษาคอมพิวเตอร์

ข้อสอบปฏิบัตวิชาวิทยาการคำนวณ ม.2

โจทย์ ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมคำนวณจำนวนวันที่เกิดมาแล้วบนโลกนี้ โดยให้นักเรียนใส่อายุ กี่ปีกี่เดือน แล้วคำนวณออกมาเป็นวัน (1 เดือนมี 30 วัน)

โดยแสดงผลว่า ชื่อ เบญจมาศ พึ่งน้ำ อายุ 42 ปี 3 เดือน

  เบญจมาศ พึ่งน้ำ เกิดมาแล้ว....วัน

ส่ง Code คำสั่ง                   แอพเขียนโปรแกรม

หน่วยที่ 5 การใช้เทคโนโลยีเผยแพร่ผลงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

    เป็นการสร้างสรรค์ ผลิต คิดค้นผลงานจากความสามารถด้านสติปัญญา และความชำนาญในอาชีพผนวกกับประสบการณ์ของมนุษย์แต่ละบุคคล อาจแสดงออกมาเป็นรูปธรรม เช่น สินค้า OTOP หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ และเป็นนามธรรม เช่น แนวคิดสร้างสรรค์หรือบริการต่าง ๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงประเภท วิธีการ หรือกระบวนการในการสร้างสรรค์

การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเป็นกลยุทธ์ในธุรกิจ ก่อให้เกิดผลดีเพราะทรัพย์สินทางปัญญาจะป้องกันการเลียนแบบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ป้องกันการสับสนของผู้บริโภคและสามารถสร้างรายได้จากการอนุญาตใช้สิทธิได้

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา 

หน่วยที่ 4 เทคโนโลยีการสื่อสาร